เมนู

อรรถกถาอินทริยสโมธาน


บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงถึงการรวมอินทรีย์ของผู้เจริญ
สมาธิและของผู้เจริญวิปัสสนา เมื่อชี้แจงประเภทแห่งความเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ เป็นอันดับแรกก่อน จึงกล่าวคำมี อาทิว่า สมาธึ ภาเวนฺโต เจริญสมาธิ
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุถุชฺชโน สมาธึ ภาวนฺโต คือปุถุชน
เจริญสมาธิอันเป็นฝ่ายแห่งการแทงตลอด. ส่วนแม้โลกุตรสมาธิก็ย่อมได้ แก่
พระเสกขะและแก่ผู้ปราศจากราคะ บทว่า อาวชฺชิตตฺตา ผู้มีตนพิจารณา
แล้ว คือ มีตนพิจารณานิมิตมีกสิณเป็นต้นแล้ว. ท่านอธิบายว่า เพราะกระทำ
บริกรรมมีกสิณเป็นต้นแล้วมีตนเป็นนิมิตให้เกิดในบริกรรมนั้น. บทว่า อาร-
มฺมณูปฏฺฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ คือ เป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ซึ่งนิมิตอันให้เกิดนั้นนั่นเอง. บทว่า สมถนิมิตฺตูปฏฺฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต คือ เมื่อจิตฟุ้งซ่านด้วยความเป็นผู้เริ่ม
ทำความเพียรเกินไป เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ คือ ความสงบจิต
ด้วยอำนาจแห่งการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์.
บทว่า ปคฺคหนิมิตฺตูปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ปัคคหนิมิต คือ เมื่อจิตหดหู่ด้วยความเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อนเกินไป เป็น
ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งนิมิต คือการประคองจิตด้วยอำนาจแห่งการเจริญธรรม-
วิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า อวิกฺเขปูปฏ-
ฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน คือ เป็นผู้ฉลาดใน
การตั้งไว้ซึ่งสมาธิอันสัมปยุตด้วยจิตไม่ฟุ้งซ่านและไม่หดหู่. บทว่า โอภาสุ-
ปฏฺฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส คือ เมื่อจิตไม่ยินดีเพราะ
ความเป็นผู้ด้อยในการใช้ปัญญา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง ญาโณภาส

เพราะยังจิตให้สังเวชด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ 8. สังเวควัตถุ 8 คือ ชาติ
ชรา พยาธิ มรณะ 4 อบายทุกข์เป็นที่ 5 วัฏฏมูลกทุกข์ในอดีต 1 วัฏฏ-
มูลกทุกข์ในอนาคต 1 อาหารปริเยฏฐิกทุกข์ (ทุกข์จากการแสวงหาอาหาร) 1.
บทว่า สมฺปหํสนูปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความ
ร่าเริง คือ เมื่อจิตไม่ยินดี เพราะยังไม่บรรลุสุข คือ ความสงบ ทำจิตให้
เลื่อมใสด้วยการระลึกพุทธคุณธรรมคุณและสังฆคุณ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้
ซึ่งความร่าเริง. บทว่า อุเปกฺขูปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่ง
อุเบกขา คือ เมื่อจิตปราศจากโทษมีความฟุ้งซ่านเป็นต้น เป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ซึ่งอุเบกขาด้วยการกระทำความไม่ขวนขวาย ในการข่มและการยกย่อง
เป็นต้น.
บทว่า เสกฺโข ชื่อว่า เสกฺโข เพราะศึกษาไตรสิกขา. บทว่า
เอกตฺตูปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว
คือ เมื่อจิตออกจากกามเป็นต้น เพราะละสักกายทิฏฐิเป็นต้นได้แล้ว. บทว่า
วีตราโค มีราคะไปปราศแล้ว คือ ปราศจากราคะสิ้นอาสวะแล้ว เพราะละ
ราคะได้แล้วโดยประการทั้งปวง. บทว่า ญาณูปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาด
ในการตั้งไว้ซึ่งญาณ คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอสัมโมหญาณในที่นั้น ๆ เพราะ
ในธรรมของพระอรหันต์เป็นธรรมปราศจากความหลงใหล. บทว่า วิมุตฺตู-
ปฏฺฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งญาณ คือ เป็นผู้ฉลาดในความตั้ง
ไว้ซึ่งอรหัตผลวิมุตติ.จริงอยู่ บทว่า วิมุตฺติ. ท่าน ประสงค์เอาอรหัตผลวิมุตต
เพราะพ้นจากกิเลสทั้งปวง.
พึงทราบบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต และบทมีอาทิว่า นิจฺจโต ใน
ความตั้งไว้และความไม่ตั้งไว้ซึ่งวิปัสสนาภาวนาโดยนัยดังกล่าวแล้วในศีลกถา
นั่นแล. แต่โดยปาฐะท่านตัดบทสมาสด้วยฉัฏฐีวิภัตติในบทเหล่านั้นคือ เป็นผู้

ฉลาดในความตั้งไว้โดยความประมวลมา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความ
แปรปรวน เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ เป็นผู้
ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
เป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง เป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น. อนึ่ง ในบทว่า สุญฺญตูปฏฺฐาน-
กุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของสูญนี้ท่านตัดบทว่า
สุญฺญโต อุปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของสูญ
หรือ สุญฺญโต อุปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้เพราะ
ความเป็นของสูญ. อนึ่ง เพราะมหาวิปัสสนา 8 เหล่านี้ คือ นิพพิทานุ-
ปัสสนา 1 วิราคานุปัสสนา 1 นิโรธานุปัสสนา 1 ปฏินิสสัคคานุปัสสนา 1
อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา 1 ยถาภูตญาณทัสสนะ 1 ปฏิสังขานุปัสสนา 1
วิวัฏฏนานุปัสสนา 1 เป็นมหาวิปัสสนาพิเศษโดยความพิเศษตามสภาวะของตน
มิใช่พิเศษโดยความพิเศษแห่งอารมณ์ ฉะนั้นคำมีอาทิว่า เป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้โดยความเป็นของน่าเบื่อหน่าย จึงไม่ควรแก่มหาวิปัสสนา 8 เหล่านั้น
ดุจคำมีอาทิว่า เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงไม่ประกอบมหาวิปัสสนา 8 เหล่านี้ไว้.
ส่วนอาทีนวานุปัสสนา เป็นอันท่านประกอบว่า เป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้โดยความเป็นโทษ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่นด้วยความ
อาลัย โดยอรรถด้วยคำคู่นี้เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ เป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ประกอบไว้
โดยสรุป.
ในมหาวิปัสสนา 18 พึงทราบว่าท่านไม่ประกอบมหาวิปัสสนา 9
เหล่านี้ คือ มหาวิปัสสนาข้างต้น 8 และอาทีนวานุปัสสนา 1 ไว้แล้วประกอบ
มหาวิปัสสนาอีก 9 นอกนี้ไว้.

บทว่า ญาณูปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ คือ
พระเสกขะเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณด้วยการเจริญวิปัสสนา เพราะไม่มี
วิปัสสนูปกิเลส แต่ท่านมิได้กล่าวว่า เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณเพราะ
ความปรากฏแห่งความใคร่ด้วยการเจริญสมาธิ. บทว่า วิสญฺโญคูปฏฺฐาน-
กุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยไม่เกี่ยวข้อง คือ เป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ซึ่งความไม่เกี่ยวข้องดังที่ท่านกล่าวไว้ 4 อย่าง คือ กามโยควิสัญโญคะ
(ความไม่เกี่ยวข้องด้วยกามโยคะ.) 1 ภวโยควิสัญโญคะ (ความไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยภวโยคะ) 1 ทิฏฐิโยควิสัญโญคะ (ความไม่เกี่ยวข้องด้วยทิฏฐิโยคะ) 1.
อวิชชาโยควิสัญโญคะ (ความไม่เกี่ยวข้องด้วยอวิชชาโยคะ) 1.
บทว่า สญฺโญคานุปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความเกี่ยวข้อง คือ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งความเกี่ยวข้อง ที่ท่าน
กล่าวไว้ 4 อย่าง คือ กามโยคะ 1 ภวโยคะ 1 ทิฏฐิโยคะ 1 อวิชชาโยคะ 1.
บทว่า นิโรธูปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ คือ
ท่านผู้ชื่อว่าเป็นขีณาสพ เพราะมีจิตน้อมไปสู่นิพพาน ด้วยอำนาจแห่งกำลังของ
ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้ว ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก จิตของภิกษุผู้เป็นขีณาสพน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ดังอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ทำให้สูญสิ้นไปจากธรรม
อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
นิพพาน กล่าวคือความดับ.
บทว่า กุสลํ ในบทมีอาทิว่า อารมฺมณูปฏฺฐานกุสลวเสน ด้วย
สามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ได้แก่ ญาณ. จริงอยู่
แม้ญาณก็ชื่อว่า กุสล เพราะประกอบด้วยบุคคลผู้ฉลาด เหมือนบทว่า ปณฺฑิตา
ธมฺมา
บัณฑิตธรรมทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นบัณฑิต
เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ฉลาด.

บัดนี้ แม้ท่านกล่าวไว้แล้วในญาณกถามีอาทิว่า จตุสฏฺฐิยา อากาเรหิ
ด้วยอาการ 64 ท่านก็ยังนำมากล่าวไว้ในที่นี้ ด้วยเชื่อมกับอินทริยกถา. พึง
ทราบบทนั้นโดยนัย ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าวแบบแผนของอินทรีย์ โดยเชื่อม
ด้วยสมันตจักษุอีก จึงกล่าวบทมีอาทิว่า น ตสฺส อทฺทิฏฺฐมิธตฺถิ กิญจิ
บทธรรมไร ๆ ที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็นไม่มีในโลกนี้. ในบทเหล่านั้น
บทว่า สมนฺตจกฺขุ ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณ. ท่านแสดงความที่อินทรีย์
ทั้งหลาย 5 ไม่พรากกันด้วยบทมีอาทิว่า ปญฺญินทฺริยสฺส วเสน ด้วยสามารถ
แห่งปัญญินทรีย์. ท่านแสดงความที่อินทรีย์ 5 มีรสอย่างเดียวกัน และเป็น
ปัจจัยของกันและกัน ในเวลาประกอบการน้อมไป หรือในขณะแห่งมรรค
ด้วยจตุกะ 5 มีอินทรีย์หนึ่ง ๆ เป็นมูล มีอาทิว่า สทฺทหนฺโต ปคฺคณฺหาติ
เมื่อเชื่อมย่อมประคับประคอง.
ท่านแสดงความที่อินทรีย์ 5 มีรสอย่างเดียวกัน และเป็นปัจจัยของกัน
และกัน ในเวลาประกอบการน้อมไป หรือในขณะแห่งมรรค ด้วยจตุกะ 5
อันมีอินทรีย์หนึ่ง ๆ เป็นมูล มีอาทิว่า สทฺทหิตตฺตา ปคฺคหิตํ เพราะความ
เป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้. พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าวแบบแผนของ
อินทรีย์ โดยเชื่อมด้วยพุทธจักษุ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ยํ พุทฺธจกฺขํ พระ-
พุทธญาณเป็นพุทธจักษุ. ในบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธจกฺขุํ ได้แก่ อินทริย-
ปโรปริยัตญาณ
(ปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่ง แห่งอินทรีย์ของสัตว์
ทั้งหลาย) และอาสยานุสยญาณ (ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัยและอนุสัยของสัตว์
ทั้งหลาย). อนึ่ง บทว่า พุทฺธญาณํ นี้ ก็ได้แก่ญาณทั้งสองนั้นเหมือนกัน.
บทที่เหลือมีความดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอินทริยสโมธาน
จบอรรถกถาอินทริยกถา

มหาวรรค วิโมกขกถา


บริบูรณ์นิทาน



ว่าด้วยวิโมกข์ 3


[469] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ 3 ประการนี้ 3 ประการ
เป็นไฉน คือสุญญตวิโมกข์ 1 อนิมิตตวิโมกข์ 1 อัปปณิหิตวิโมกข์ 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ 3 ประการนี้.
อีกประการหนึ่ง วิโมกข์ 68 คือ สุญญตวิโมกข์ 1 อนิมิตตวิโมกข์ 1
อัปปณิหิตวิโมกข์ 1 อัชฌัตตาวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายใน) 1
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายนอก) 1 ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
(วิโมกข์มีการออกแต่ส่วนทั้งสอง) 1 วิโมกข์ 4 แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ 4 แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ 4 แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ 4 อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ 4 อนุโลมแก่พหิทธา-
วุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ 4 ระงับ
จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ 4 ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์
4 ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูป
เห็นรูปทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญ ว่ารูปในภายใน เห็นรูป
ทั้งหลายในภายนอก เพราะอรรถว่า ภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น
อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ วิญญาณณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ อากิญ-
จัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ สัญญา